วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินส่งออกจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น

                          การส่งออกกระเจี๊ยบเขียวไปญี่ปุ่น
          จากสถิติการส่งออกกระเจี๊ยบเขียวที่ศูนย์บริการทางวิชาการแบบเบ็ดเสร็จได้รวบรวมไว้พบว่า ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่นำเข้ากระเจี๊ยบเขียวสูงถึง 8,974 ตันต่อปี มีมูลค่า 302 ล้านบาท นับว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นได้ตรวจพบสารตกค้างในพืชผักที่ส่งออกจากไทยเป็นจำนวนมากในระหว่างปี 2540-2544 ต่อมาในปี 2544 ได้มีคำสั่งกักกันเพื่อตรวจสอบสินค้าพืชผักจากไทยรวม 16 ชนิด คือ ผักคื่นฉ่าย ผักคะน้า ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ใบโหระพา ผักชี ใบกะเพรา ผักคะแยง ยี่หร่า ใบแมงลัก ใบสาระแหน่ ผักแพรว ใบบัวบก ถัวลันเตาดิบ กะหล่ำใบ และชะอม/ส้มป่อย
          กรมวิชาการเกษตรร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และภาคเอกชนผู้นำเข้าและส่งออกพืผักจึงจัดทำโครงการนำร่องพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดภัย (Safe Vegetable Development Pilot Project) เพื่อผลิตและส่งออกพืชผักภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดแล้วยื่นต่อกระทรวงสาธารณสุขฯ ของญี่ปุ่นในเดือน ธันวาคม 2544 ญี่ปุ่นเห็นด้วยกับโครงการนี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2545 แต่การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าจนญี่ปุ่นได้มีคำสั่งกักกันเพื่อตรวจสอบพืชผักจากประเทศไทย เพิ่มอีก 4 ชนิดในปี 2545 คือใบมะกรูด ผักระเฉด ตะไคร้ และผักเป็ด จนกระทั่งในวันที่ 20 มกราคม 2546 ญี่ปุ่นมีคำสั่งกักกันกระเจี๊ยบเขียว ซึ่งมีปริมาณและมูลค่าส่งออกจากไทยสูงสุดในพืชทั้ง 21 ชนิดที่ญี่ปุ่นมีคำสั่งกักกัน ในระหว่างปี 2540-2546
          การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจึงเริ่มขึ้นโดยในวันที่ 29 มกราคม 2546 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ(นายเนวิน ชิดชอบ) มีบัญชาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งสินค้าพืชผักไปญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมประชุมปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหามีการดำเนินการในโครงการนำร่องฯอย่างจริงจัง กระทั่งในวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 ญี่ปุ่นแจ้งว่าจะพิจารณายกเลิกการกักกันในพืชบางชนิดที่มีการดำเนินงานก้าวหน้าโดยเร็ว นอกจากนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 กรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้สินค้าพืชผักทั้ง 21 ชนิดดังกล่าวอาจจะต้องมีใบรับรองสารตกค้างจากกรมวิชาการเกษตรก่อนการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และมีการประสานงานกันในด้าน ให้ข้อมูลรายละเอียดของการตรวจสอบสารตกค้างชนิด และวิธีการตรวจวิเคราะห์รวมทั้งกำหนดรูปแบบใบรับรองสารตกค้างเฉพาะที่ส่งพร้อมสินค้าไปญี่ปุ่น (ที่มา http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00213)

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น

ภูมิอากาศ มี 4 ฤดูหลัก ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
ฤดูใบไม้ผลิ : (มีนาคม-พฤษภาคม) อากาศอบอุ่น
ฤดูร้อน : (มิถุนายน-สิงหาคม) อากาศร้อนชื้นโดยมีช่วงฤดูฝนสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน ในช่วงต้นฤดู เเละร้อนจัดในช่วงสิงหาคม-กันยายน
ฤดูใบไม้ร่วง : (ตุลาคม-พฤศจิกายน) อากาศอบอุ่น โดยมีพายุไต้ฝุ่นมากในช่วงเดือนกันยายน
ฤดูหนาว : (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศหนาว มีหิมะตกโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศและฝั่งทะเลญี่ปุ่น ส่วนทางใต้และฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศจะอบอุ่นกว่า

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ

           การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยาก
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ           (แหล่งที่มา   http://webboard.royalmarine.co.th/index.php?page=view&wb_id=6)


การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and  Sarathy. 2000 : 12)     (แหล่งที่มา   http://www.ssru.ac.th/linkssru/Subject_New/3544103/soc22/topic1/linkfile/print5.htm)




ดังนั้น การค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศต่างกันตรงที่ การค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อพัฒนาประเทศ และการตลาดระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นเรื่องการค้นหาหรือคิดค้นวิธีการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่งทางการค้า

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ 
(Product  Life  Cycle  หรือ  PLC )

            วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์  หมายถึง  ขั้นตอนหรือประวัติการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ที่แสดงในรูปของยอดขายและกำไร  สินค้าทุกชนิดเมื่อเข้าสู่ตลาดจะมีประวัติการเจริญเติบโตของยอดขายทั้งสิ้น  เริ่มต้นจากขั้นแนะนำ  เข้าสู่ขั้นเจริญเติบโต  ขั้นอิ่มจนถึงขั้นถดถอย
                 

                 1.  ขั้นแนะนำ (Introduction  Stage)  เป็นขั้นนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด สินค้าทุกชนิดเมื่อเริ่มเข้าสู่ตลาดเป็นครั้งแรกก็จะต้องเริ่มต้นด้วยขั้นนี้  ซึ่งเป็นขั้นที่กิจการต้องทุ่มงบประมาณทั้งด้านการโฆษณา  ประชาสัมพันธ์  ส่งเสริมการขาย  และการขายโดยใช้พนักงานขายสูงมาก  เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
                นักการตลาดต้องบอกให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้โดยผ่านสื่อต่าง ๆ  ว่าเราเป็นสินค้าอะไร  มีชื่อยี่ห้อว่าอะไร  รูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นแบบไหน  หาซื้อได้ที่ไหน  เมื่อผู้บริโภคซื้อไปแล้วจะได้รับประโยชน์อะไรจากการใช้สินค้าเรา  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้  เกิดความสนใจ  อยากทดลองใช้และเกิดพฤติกรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
                2.  ขั้นเจริญเติบโต (Growth  Stage)  เป็นขั้นที่ตลาดมีการยอมรับผลิตภัณฑ์  ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เป็นช่วงที่กำไรเริ่มปรากฏซึ่งบริษัทจะได้กำไรอย่างมาก  ขณะเดียวกัน  คู่แข่งขันจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น  บริษัทต้องพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด
                ในขั้นตอนนี้นักการตลาดสามรถลดค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการตลาดลงได้หากกิจการต้องการประหยัดงบประมาณ  แต่มิใช่การหยุดโฆษณาเพียงแต่สามารถลดความถี่ในการลงโฆษณาลงได้  เพราะเป็นช่วงที่สินค้าเรากำลังติดตลาดและทำกำไรได้ดี
                3.  ขั้นอิ่มตัว  (Maturity  Stage)  หลังจากตลาดเจริญเติบโตก็จะเข้าสู่ขั้นอิ่มตัว  จึงเป็นช่วงที่มีคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดมาก  ทั้งยังเป็นช่วงที่มีกำไรสูงสุดและเริ่มลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีการต่อสู้กับสินค้าคู่แข่ง
                ขั้นอิ่มตัวหากกิจการมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องก็จะสามารถรักษาส่วนครองตลาดได้  ซึ่งนักการตลาดจะต้องหักมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้เพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  รุ่นใหม่  สีใหม่  กลิ่นใหม่  รสชาติใหม่ให้แตกต่างจากของคู่แข่งในตลาด  ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์ลดลงไปถึงขั้นตกต่ำ  แต่กลับจะรักษาส่วนครองตลาดได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
                4.  ขั้นถดถอย  (Decline  Stage)  เป็นช่วงที่ยอดขายลดลงและกำไรเริ่มเป็นศูนย์  หากกิจการไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น  ยอดขายก็จะลดลงถึงขั้นตกต่ำและสินค้าก็จะต้องตายไปจากตลาด  เนื่องจากสินค้าขายไม่ได้หรือขายได้ก็เพียงเล็กน้อยโดยไม่ได้กำไรเลย  กิจการก็ไม่สามารถอยู่ได้  จึงควรปล่อยให้สินค้านั้นตายไปจากตลาด
                สิ่งที่นักการตลาดควรกระทำก็คือ  การลดงบประมาณการโฆษณาลง  และหันไปทำการส่งเสริมการขายด้วยการลดราคาสินค้า  เพราะอย่างน้อยสินค้าที่ด้อยคุณภาพหรือล้าสมัยจนเสียชื่อเสียงไปแล้วอาจจะยังขายได้กับกลุ่มผู้ที่ต้องการสินค้าราคาประหยัดหรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
                ผลิตภัณฑ์บางชนิดเมื่อเริ่มเข้าสู่ตลาดครั้งแรกในช่วงแนะนำ  ก็เข้าสู่ขั้นถดถอยโดยไม่ผ่านขั้นตอนอื่นเลย  สาเหตุอันเนื่องมาจากการไม่ศึกษาความต้องการของตลาด  แต่ผลิตภัณฑ์บางชนิดก็รักษาส่วนครองตลาดได้ดีเป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่มาถึงขั้นถดถอยนี้เลย  เพราะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและมีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา
                ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่เคยตายไปแล้วจากตลาดและมีความต้องการอยากนำกลับเข้ามาขายในตลาดอีกครั้งหนึ่ง  โดยคิดว่าสินค้านั้นเคยขายได้ดีและผู้บริโภคเคยรู้จักชื่อสินค้าแล้ว  อาจทำให้สินค้านั้นขายไม่ได้เลยเพราะผู้บริโภคจดจำได้ว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าด้อยคุณภาพหรือล้าสมัยกิจการก็ไม่ควรพยายามนำกลับเข้ามาใสตลาดอีก  แต่ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยอาจเปลี่ยนชื่อสินค้าใหม่ไปเลยจะดีกว่า  และเริ่มเข้าสู่ขั้นแนะนำใหม่  โอกาสที่จะเข้าสู่ขั้นเจริญเติบโต  ขั้นอิ่มตัวก็จะยังมีมากกว่าการนำสินค้าใหม่ก็จะทำให้สินค้านั้นเริ่มสร้างตัวเองเป็นวัฏจักรวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา : http://www.staq.co.th
           www.wcs.ac.th/material/e-books.doc