วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินส่งออกจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น

                          การส่งออกกระเจี๊ยบเขียวไปญี่ปุ่น
          จากสถิติการส่งออกกระเจี๊ยบเขียวที่ศูนย์บริการทางวิชาการแบบเบ็ดเสร็จได้รวบรวมไว้พบว่า ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่นำเข้ากระเจี๊ยบเขียวสูงถึง 8,974 ตันต่อปี มีมูลค่า 302 ล้านบาท นับว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นได้ตรวจพบสารตกค้างในพืชผักที่ส่งออกจากไทยเป็นจำนวนมากในระหว่างปี 2540-2544 ต่อมาในปี 2544 ได้มีคำสั่งกักกันเพื่อตรวจสอบสินค้าพืชผักจากไทยรวม 16 ชนิด คือ ผักคื่นฉ่าย ผักคะน้า ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ใบโหระพา ผักชี ใบกะเพรา ผักคะแยง ยี่หร่า ใบแมงลัก ใบสาระแหน่ ผักแพรว ใบบัวบก ถัวลันเตาดิบ กะหล่ำใบ และชะอม/ส้มป่อย
          กรมวิชาการเกษตรร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และภาคเอกชนผู้นำเข้าและส่งออกพืผักจึงจัดทำโครงการนำร่องพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดภัย (Safe Vegetable Development Pilot Project) เพื่อผลิตและส่งออกพืชผักภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดแล้วยื่นต่อกระทรวงสาธารณสุขฯ ของญี่ปุ่นในเดือน ธันวาคม 2544 ญี่ปุ่นเห็นด้วยกับโครงการนี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2545 แต่การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าจนญี่ปุ่นได้มีคำสั่งกักกันเพื่อตรวจสอบพืชผักจากประเทศไทย เพิ่มอีก 4 ชนิดในปี 2545 คือใบมะกรูด ผักระเฉด ตะไคร้ และผักเป็ด จนกระทั่งในวันที่ 20 มกราคม 2546 ญี่ปุ่นมีคำสั่งกักกันกระเจี๊ยบเขียว ซึ่งมีปริมาณและมูลค่าส่งออกจากไทยสูงสุดในพืชทั้ง 21 ชนิดที่ญี่ปุ่นมีคำสั่งกักกัน ในระหว่างปี 2540-2546
          การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจึงเริ่มขึ้นโดยในวันที่ 29 มกราคม 2546 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ(นายเนวิน ชิดชอบ) มีบัญชาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งสินค้าพืชผักไปญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมประชุมปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหามีการดำเนินการในโครงการนำร่องฯอย่างจริงจัง กระทั่งในวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 ญี่ปุ่นแจ้งว่าจะพิจารณายกเลิกการกักกันในพืชบางชนิดที่มีการดำเนินงานก้าวหน้าโดยเร็ว นอกจากนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 กรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้สินค้าพืชผักทั้ง 21 ชนิดดังกล่าวอาจจะต้องมีใบรับรองสารตกค้างจากกรมวิชาการเกษตรก่อนการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และมีการประสานงานกันในด้าน ให้ข้อมูลรายละเอียดของการตรวจสอบสารตกค้างชนิด และวิธีการตรวจวิเคราะห์รวมทั้งกำหนดรูปแบบใบรับรองสารตกค้างเฉพาะที่ส่งพร้อมสินค้าไปญี่ปุ่น (ที่มา http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00213)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น